ข้อมูลโครงการ
เกาะช้าง อำเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด เป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทย รองจากจังหวัดภูเก็ต และเกาะสมุย เป็นเกาะที่มีชื่อเสียงโด่งดังของทะเลตะวันออก ด้วยความงามของธรรมชาติอันหลากหลายบนเกาะจนกลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศทั่วโลก ปัจจุบันการเดินทางไปยังเกาะช้างมีอยู่วิธีเดียว คือ การใช้เรือเป็นหลักในการนำคนและรถยนต์ไปยังตัวเกาะ ซึ่งปัญหาหลักในขณะนี้ คือความไม่สะดวกด้านการคมนาคมของประชาชนและนักท่องเที่ยวที่ต้องรอลงเรือเฟอร์รี่นานถึง 2-3 ชั่วโมง ทั้งขาไปและขากลับ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาวและเทศกาลสำคัญ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจด้านการท่องเที่ยวของเกาะ อีกทั้งการอาศัยบริการเรือเฟอร์รี่เพียงวิธีเดียวยังทำให้มีข้อจำกัดอีกหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะ ทั้งทางด้านการสาธารณสุข อาทิ การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินโดยเฉพาะในเวลากลางคืน การเข้าถึงการศึกษาในตัวจังหวัดตราด และความลำบากในการขนส่งสินค้าส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงกว่าพื้นที่อื่น
ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน จังหวัดตราด ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 จังหวัดตราดได้ขอความอนุเคราะห์กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ในการดำเนินการศึกษาและออกแบบสะพานข้ามเกาะช้าง และตามคำสั่งจังหวัดตราดที่ 1851/2564 ลงวันที่ 27 กันยายน 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการและคณะดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้าง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการก่อสร้างสะพาน และเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 ในคราวประชุมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดตราด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (รวค.) ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้างเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนด้านการคมนาคมของชาวเกาะช้างและนักท่องเที่ยว รวมถึงยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะการเข้ามารักษาพยาบาลในตัวเมืองตราดและการที่ลูกหลานสามารถเข้ามาเรียนหนังสือในตัวเมืองตราดได้สะดวกสบายมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้กับจังหวัดตราดเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่สนับสนุนและอำนวยความสะดวกด้านพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรมอีกด้วย
ต่อมา กระทรวงคมนาคม ได้มีข้อสั่งการที่ ว 1275/2566 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ท้ายบันทึกสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ที่ คค 0208/กยผ 163 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) พิจารณาดำเนินการตามข้อสั่งการของ รวค. โดยให้ กทพ. ประสานการดำเนินงานร่วมกับ ทช. ในการดำเนินการสำรวจศึกษาและออกแบบสะพานข้ามเกาะช้าง เนื่องจากเป็นโครงการก่อสร้างที่มีความต่อเนื่องกันระหว่างการก่อสร้างสะพาน (กทพ.) เชื่อมต่อกับถนนของ ทช. ทั้งนี้ให้ ทช. สนับสนุนข้อมูลและการดำเนินงานของ กทพ. ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ดังนั้น กทพ. จึงว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทางสู่เกาะช้างได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการคมนาคมและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางไปยังเกาะช้าง และส่งเสริมการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
2563 |
2564 |
2564 |
2566 |
||||
จังหวัดตราดได้ขอความอนุเคราะห์กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ในการดำเนินการศึกษา
และออกแบบสะพานข้ามเกาะช้าง |
27 กันยายน พ.ศ. 2564 |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบหมายให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสะพานข้ามเกาะช้าง |
10 กุมภาพันธ์ 2566 |
||||
|
|
|
|
กทพ. จึงว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินงานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ประชาชนผู้ใช้ทางได้รับความสะดวก ปลอดภัย ในการเดินทางสู่เกาะช้างได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการคมนาคมและเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางไปยังเกาะช้าง และส่งเสริมการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น
ขอบเขตโครงการ
งานส่วนที่ 1 : งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางเชื่อมพิเศษเกาะช้าง
งานส่วนที่ 2 : งานสำรวจและออกแบบกรอบรายละเอียด (Definitive Design)
งานส่วนที่ 3 : งานประชาสัมพันธ์โครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน
งานส่วนที่ 4 : งานศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ รวมถึงการประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding)
งานส่วนที่ 5 : งานจัดทำกรอบสาระสำคัญของเอกสารข้อเสนอเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน และร่างสัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ
สถานะโครงการ
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ลงนามจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางพิเศษเชื่อมเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 ระยะเวลาดำเนินการศึกษา 720 วัน (24 เดือน) ก่อนขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและขออนุมัติดำเนินก่อสร้างโครงการต่อไป ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ในปี พ.ศ. 2572 และเปิดให้บริการปี พ.ศ. 2576
หน่วยงานเจ้าของโครงการ |
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม |
โทรศัพท์ 0 2558 9800 ต่อ 22764 |
บริษัทที่ปรึกษาหลัก |
บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด |
ติดต่อ : คุณภาวิณี อร่ามศรี (ส่วนกลาง) |
บริษัทที่ปรึกษาด้านงานวิศวกรรมโยธา |
บริษัท เอเชี่ยน เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด |
ติดต่อ : คุณครรชิต วิลัยศิลป์ |
บริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมงานจราจรและขนส่ง |
บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง
แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) |
ติดต่อ : คุณวสุ ชัยสุข (ด้านวิศวกรรมงานจราจรและขนส่ง) |
บริษัทที่ปรึกษาด้านงานระบบและประมาณราคา |
บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด |
ติดต่อ : คุณอลงกต นาบำรุง (ด้านงานระบบและประมาณราคา) |
บริษัทที่ปรึกษาด้านระบบระบายน้ำ |
บริษัท เอ็ม เอ เอ คอนซัลแตนท์ จำกัด |
ติดต่อ : คุณนนทพันธ์ ฤทธิ์ทยมัย (ด้านระบบระบายน้ำ) |
|
บริษัท เทสโก้ จำกัด |
ติดต่อ : คุณตติยา เลี่ยมเส็ง (ด้านงานสิ่งแวดล้อม) โทรศัพท์ : 06 3660 7526 โทรสาร : 0 2258 1313 E-Mail : Tataiya.liamseng.26@gmail.com ติดต่อ : คุณสฤษดิ์ โคตุละ (ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน) โทรศัพท์ : 0 4422 4451 โทรสาร : 0 4422 4220 E-Mail : sarid_K02@gmail.com |